วัตถุประสงค์
เพื่อทดสอบและสังเกตเอาต์พุตที่ได้จากการเซนเซอร์ Hall Effect A1302 ซึ่งในส่วนนี้แรงดันเอาต์พุตสูงสุดของ Hall Effect Sensor คือ 5V และเป็น analog แต่ GPIO ของบอร์ดราสเบอร์รี่พายสามารถรับได้สูงสุดเพียง 3.3V และเป็นดิจิตอลดังนั้นจึงต้องมี วงจร comparator มาเปรียบเทียบ หากเซนเซอร์ตรวจพบแม่เหล็กจะได้เอาต์พุตที่่ผ่าน comparator เป็น 1 คือแรงดันจากเซนเซอร์มากกว่า 2.5 แต่ถ้าไม่พบแรงดันจะเป็น 0 แล้วทำการลดแรงดันที่ได้จาก comparator ให้ไม่เกิน 3.3 V จึงแบ่งการออกแบบวงจรและการทดสอบออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.วงจร Hall Effect Sensor
2. วงจร Comparator และ วงจรแบ่งแรงดัน
3. การทดสอบวงจรโดยรวม
3. การทดสอบวงจรโดยรวม
1. วงจร Hall Effect Sensor
![]() |
การต่อวงจร Hall Effect Sensor |
การทดสอบเบื้องต้น
1. ทดสอบป้อนแรงดัน Vcc เป็น 5V แล้วทำการวัดแรงดัน Vout ก่อนนำแม่เหล็กมาเข้าใกล้
- วัดแรงดัน Vout ได้ 2.56 V
2. ป้อนแรงดันเช่นเดียวกับในขั้นตอนที่ 1 แล้วทำการลดแรงดัน Vcc ทีละ 0.5 V จนเหลือ 0 V และสังเกตแรงดัน Vout ได้ผลการทดสอบดังนี้
![]() |
แรงดัน Vcc และ Vout ของ Hall Effect Sensor |
3.นำแม่เหล็กมาวางห่างจากเซนเซอร์ 1 cm และทำการวัดแรงดัน Vout เช่นเดียวกันขั้นตอนที่ 2 ดังรูป
![]() |
การวางแม่เหล็กและเซนเซอร์ |
สรุปการทดสอบ Hall Effect Sensor
จากการทดสอบพบว่า เมื่อแรงดัน Vcc ลดลง แรงดัน Vout จะลดลงด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้งานจริง เพราะในวงจร comparator มีการกำหนดแรงดันที่ใช้เปรียบเทียบไว้ ที่ 2.5 แต่ถ้าหากแรงดันจาก Hall Effect ลดลงจะทำให้ค่าที่ได้เกิดความผิดพลาด ซึ่งอาจจะแก้ไขโดยใช้วงจรรักษาระดับแรงดันไฟเลี้ยงที่ป้อนให้กลับเซนเซอร์และวงจร comparator
1. นำเอาต์พุตของวงจร Hall Effect มาต่อเข้ากับขา Vin (ขาบวก) ของวงจร Comparator และติดตั้งวงจร Hall Effect ไว้ใกล้กับส่วนที่เป็นดุมล้อของมอเตอร์และติดแม่เหล็กให้มีระดับตรงกันกับ Hall Effect Sensor และป้อนแรงดันไฟเลี้ยง 5 V ให้กับทั้งสองวงจร
2. ต่ออุปกรณ์ Brushless เข้ากับมอเตอร์ ชุดคันเร่งและเบรค จากนั้นป้อนแรงดัน 30 V ให้กับอุปกรณ์ Brushless
4. นำออสซิลโลสโคปมาวัดสัญญาณเอาต์พุตของวงจร Hall Effect และวงจร Comparator โดยให้ช่องสัญญาณที่ CH1 เป็นสัญญาณจากวงจร Hall Effect และ ช่องสัญญาณที่ CH2 เป็นสัญญาณจากวงจร Comparator
สัญญาณที่ได้มานั้นมีความกว้าง 31.0 ms และมีความถี่ 1.078 Hz โดยที่ CH1(สีเหลือง) เป็นเอาต์พุตของวงจร Hall Effect วัดแรงดันสูงสุดได้ 4.88 V ส่วน CH2(สีฟ้า) เป็นเอาต์พุตของวงจร Comparator ที่ผ่านการแบ่งแรงดันมาแล้ว วัดแรงดันสูงสุดได้ 2.48 V
2.วงจร comparator และวงจรแบ่งแรงดัน
![]() |
แสดงการต่อวงจร Comparator |
การทดสอบเบื้องต้น
1. กำหนด Vin ขาลบ(ขา 2)ของไอซี LM393 เป็น 2.5 และป้อนสัญญาณเข้าที่ Vin ขาบวก(ขา 3) จากฟังก์ชัน generator ที่ความถี่ f = 1kHz ,Amplitude = 5Vpp และ offset = 2.5 V
![]() |
วงจร Comparator |
2. สังเกตสัญญาณเอาต์พุตที่ได้เทียบกับ Vin ขาบวก โดยที่ Vin มากกว่า 2.5 V สัญญาณเอาต์พุตที่ได้จะมี logic เป็น 1 แต่ถ้าหากแรงดัน Vin น้อยกว่า 2.5 V สัญญาณเอาต์พุตที่ออกมาจะมี logic 0
![]() |
สัญญาณอินพุต และเอาต์พุต ที่ป้อนให้กับวงจร Comparator |
3. การทดสอบวงจรโดยรวม
นำวงจร Hall Effect และวงจร Comparator มาทดสอบร่วมกัน เพื่อสังเกตลักษณะของเอาต์พุตที่ได้ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งในที่นี้จะใช้อุปกรณ์ในการขับมอร์เตอร์มาช่วยในการทดสอบ
อุปกรณ์ที่ใช้
1. วงจร comparator และวงจร Hall Effect
2. Brushless Control Box 36V
3. Power Supply จำนวน 2 เครื่อง
4. แม่เหล็ก
5. สายไฟสำหรับต่อวงจร
6. ออสซิลโลสโคป จำนวน 1 เครื่อง
7. มัลติมิเตอร์
8. มอเตอร์
9. อุปกรณ์วัดความเร็วจักรยาน
8. มอเตอร์
9. อุปกรณ์วัดความเร็วจักรยาน
ขั้นตอนการทดสอบ
2. ต่ออุปกรณ์ Brushless เข้ากับมอเตอร์ ชุดคันเร่งและเบรค จากนั้นป้อนแรงดัน 30 V ให้กับอุปกรณ์ Brushless
3. ติดอุปกรณ์วัดความเร็วของจักรยานไว้ในระดับเดียวกันกับ Hall Effect Sensor เพื่อวัดความเร็วการหมุนของมอเตอร์
4. นำออสซิลโลสโคปมาวัดสัญญาณเอาต์พุตของวงจร Hall Effect และวงจร Comparator โดยให้ช่องสัญญาณที่ CH1 เป็นสัญญาณจากวงจร Hall Effect และ ช่องสัญญาณที่ CH2 เป็นสัญญาณจากวงจร Comparator
5. ทดสอบเร่งความเร็วของมอเตอร์ และบันทึกภาพสัญญาณที่ได้
โดยก่อนทำการเร่งความเร็วของมอเตอร์ ได้วัดแรงดันจากคันเร่งที่เป็น analog voltage ได้ 0.867 V และความเร็วของล้อเป็น 0 km/h
5.1 เร่งความเร็วมอเตอร์โดยป้อนแรงดันจากคันเร่ง 1.588 V และวัดความเร็วได้ 8.6 km/h ได้สัญญาณดังรูป
สัญญาณที่ได้มานั้นมีความกว้าง 31.0 ms และมีความถี่ 1.078 Hz โดยที่ CH1(สีเหลือง) เป็นเอาต์พุตของวงจร Hall Effect วัดแรงดันสูงสุดได้ 4.88 V ส่วน CH2(สีฟ้า) เป็นเอาต์พุตของวงจร Comparator ที่ผ่านการแบ่งแรงดันมาแล้ว วัดแรงดันสูงสุดได้ 2.48 V
5.2 เร่งความเร็วมอเตอร์โดยป้อนแรงดันจากคันเร่ง 1.772 V และวัดความเร็วได้ 12.7 km/h วัดความกว้างของสัญญาณได้ 21.4 ms และมีความถี่ 1.667 Hz ดังรูป
5.3 เร่งความเร็วมอเตอร์โดยป้อนแรงดันจากคันเร่ง 1.900 V และวัดความเร็วได้ 15.3 km/h ได้สัญญาณที่มีความกว้าง 17.0 ms และมีความถี่ 2.016 Hz ดังรูป
5.4 เร่งความเร็วมอเตอร์โดยป้อนแรงดันจากคันเร่ง 2.50 V (สูงสุด)และวัดความเร็วได้ 26.9 km/h ได้สัญญาณที่มีความกว้าง 9.80 ms และมีความถี่ 3.57 Hzดังรูป
5.5 เร่งความเร็วมอเตอร์โดยป้อนแรงดันจากคันเร่ง 3.48 V (สูงสุด)และวัดความเร็วได้ 38.2 km/h ได้สัญญาณที่มีความกว้าง 17.0 ms และมีความถี่ 2.016 Hz ดังรูป
สรุปการทดสอบ
จากลักษณะของสัญญาณที่ได้ พบว่าเมื่อเร่งความเร็วของมอเตอร์ให้เพิ่มขึ้น ความกว้างของสัญญาณจะแคบลงเรื่อยๆ และความกว้างของคาบเวลาจะลดลงเช่นกัน
No comments:
Post a Comment